สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 “กษัตริย์นักบินพระองค์แรกแห่งราชวงศ์จักรี”

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 “กษัตริย์นักบินพระองค์แรกแห่งราชวงศ์จักรี”

king-vachira-of-thailand-5อันเป็นที่ประจักษ์อย่างกว้างขวางถึงพระปรีชาสามารถของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร”ว่าทรงเปี่ยมล้นไปด้วยพระอัจฉริยภาพหลากหลายด้าน โดยเฉพาะทางด้านการบินที่ทรงมีความชำนาญในการบังคับอากาศยานชนิดต่างๆ ทั้งอากาศยานทหาร และอากาศยานพาณิชย์ ยากที่จะมีผู้ใดเสมอเหมือน จนทรงได้รับการขนานนาม จนทรงได้รับการขนานนามเป็น “กษัตริย์นักบินพระองค์แรกแห่งราชวงศ์จักรี”

King vachira of thailand 10
ผู้ทรงตั้งพระทัยอย่างแน่วแน่ในการถ่ายทอดประสบการณ์ ที่ทรงมีอยู่ให้เกิดประโยชน์ต่อกองทัพอากาศและประเทศชาติ โดยไม่คำนึงถึงความเหน็ดเหนื่อยแต่อย่างใด

 

king-vachira-of-thailand4ขณะยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงสนพระราชหฤทัยในวิทยาการด้านการบินมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ และทรงทุ่มเทพระวรกาย และ ทรงพัฒนาความรู้ความสามารถด้านการบินมาอย่างต่อเนื่อง

king-vachira-of-thailand-11โดยในเดือน พ.ค.2547 ได้ทรงมีพระราชประสงค์จะทรงทำการบินเปลี่ยนแบบจากเครื่องบินขับไล่แบบ “18 ข” (F-5E) มาเป็นเครื่องบินลำเลียง ด้วยทรงเล็งเห็นว่า ศาสตร์ด้านการบินของเครื่องบินพาณิชย์ เป็นเรื่องที่น่าเรียนรู้ และสามารถนำมาพัฒนาด้านการบินกับเครื่องบินพระราชพาหนะ ที่กองทัพอากาศทำการบินถวายอยู่ในปัจจุบัน ได้เช่นเดียวกับการบินของนักบินบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) และสายการบินอื่นๆ ในการนี้ได้ทรงมอบหมายให้ “กัปตันพิศาล ฉายากุล” จากการบินไทย เป็นผู้อำนวยการในการถวายหลักสูตรนักบินพาณิชย์ตรีและพาณิชย์เอก และ “กัปตันโสภิต โภคะสุวรรณ” เป็นผู้ดูแลหลักสูตรการศึกษา โดยระยะเวลาครอบคลุมตั้งแต่วันที่ 10-23 พ.ค. 2547 และหลังจากทรงผ่านการทดสอบภาควิชาการแล้ว ได้ทรงใช้เครื่องบินจำลองของเครื่องบินโบอิ้ง 737-400 เป็นแพลตฟอร์มในการฝึกและตรวจสอบภาคอากาศ ซึ่งผลปรากฏว่า ทรงมีพระปรีชาสามารถอย่างเห็นได้ชัด ทรงผ่านการตรวจสอบทั้งภาคพื้นและภาคอากาศภายในระยะเวลาอันสั้น

king-vachira-of-thailand-7ถ้าจะไล่เรียงกันแล้ว ต้องนับว่า “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร” ทรงเป็น “เจ้าฟ้านักบินขับไล่ ไอพ่น” พระองค์แรกแห่งราชวงศ์จักรี ทรงทำการบินกับเครื่องบินของกองทัพอากาศเกือบทุกรูปแบบ และทรงผ่านการฝึกบินหลักสูตรการบินเฮลิคอปเตอร์ และการฝึกบินเครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูง (F-5E) จากประเทศสหรัฐอเมริกา ถือได้ว่าทรงเป็นนักบินที่มีพระวิริยะอุตสาหะ และพระปรีชาสามารถด้านการบินอย่างยิ่ง หลังสำเร็จการศึกษาแล้ว ได้ทรงนำความรู้มาจัดทำหลักสูตรการฝึกบิน และทรงปฏิบัติหน้าที่ครูการบินให้นักบินเครื่องบินขับไล่แบบ “18 ข” (F-5E) หน่วยบินเดโชชัย 3 และนักบินของกองทัพอากาศ โดยทรงตั้งพระทัยอย่างแน่วแน่ว่า จะทรงถ่ายทอดประสบการณ์ ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ต่อกองทัพอากาศและประเทศชาติมากที่สุด

king-vachira-of-thailand-9การที่ “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร”ทรงสนพระทัยในการฝึกบินเปลี่ยนแบบกับเครื่องบินโบอิ้ง 737-400 เพราะทรงเล็งเห็นว่า เป็นเครื่องบินพระราชพาหนะที่ถวายการบินอยู่ในปัจจุบัน และเป็นเครื่องบินที่การบินไทยใช้งานอยู่ ที่สำคัญยังทรงมั่นพระทัยด้วยว่า ความรู้ที่ทรงได้รับจะสามารถ นำไปใช้ในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจได้อย่างดีเยี่ยม จึงทรงมีพระราชประสงค์ให้การบินไทยจัดหลักสูตรและครูการบิน ถวายการฝึกบินอย่างเต็มหลักสูตร เช่นเดียวกับการฝึกบินของนักบินบริษัทการบินไทยทุกประการ โดยมี “กัปตันอัษฎาวุธ วัฒนางกูร” ผู้อำนวยการฝ่ายฝึกอบรมนักบิน และ “กัปตันอภิรัตน์ อาทิตย์เที่ยง” หัวหน้าครูการบินสำหรับเครื่องบินโบอิ้งรุ่นดังกล่าว เป็นผู้ถวายการฝึก ซึ่งการฝึกภาควิชาการมีขึ้นตั้งแต่ต้นเดือน มิ.ย.2547 เริ่มทำการฝึกบินเมื่อวันที่ 27 ส.ค.2547 และเสร็จสิ้นการฝึกบินได้รับศักย์การบิน ในฐานะกัปตันของเครื่องบินโบอิ้ง 737-400 ในวันที่ 30 มิ.ย.2549

king-vachira-of-thailandตลอดเวลาที่ทรงฝึกบินนั้น แม้จะทรงติดพระราชกิจอื่นๆมากมาย รวมถึงการเสด็จไปปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่“สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร”ก็ยังโปรดให้กัปตันทั้งสองนายตามเสด็จไปถวายการบรรยายด้วย โดยทรงใช้เวลาในช่วงกลางคืน 3-4 ชั่วโมง ศึกษาเล่าเรียนอย่างตั้งพระทัย และแม้พระองค์จะทรงได้รับศักย์การบินเป็นกัปตันโบอิ้ง 737-400 อย่างเป็นทางการแล้วก็ตาม แต่ก็ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทำการฝึกบินต่อไป เพื่อให้ทรงมีมาตรฐานเดียวกับกัปตันของการบินไทย ด้วยเหตุนี้ ครูการบินจึงได้จัดหลักสูตรถวายเพิ่มเติม โดยใช้เครื่องบินพระที่นั่ง “บ.ล.11 ข มวก.1/38 หมายเลข 11-111” เป็นหลัก เริ่มจากการบินเส้นทางใกล้ๆเพื่อทำความคุ้นเคยกับเส้นทางบิน จากนั้นจึงทรงทำการบินขึ้นลงที่สนามบินในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งทรงฝึกบินด้วยเทคนิคต่างๆเพื่อสะสมประสบการณ์ด้านการบิน

king-vachira-of-thailand-2เพื่อให้การฝึกบินมีความสมจริงที่สุด ภายในระยะเวลาการฝึกที่ค่อนข้างจำกัด “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร” ทรงให้ครูการบินสมมุติสถานการณ์ต่างๆขึ้น เช่นกรณีมีสภาพอากาศแปรปรวน หรือมีข้อจำกัดทางการบิน ส่งผลให้การฝึกบินมีความคืบหน้าอย่างรวดเร็ว ภายในเวลาเพียง 2 ปี ก็ทรงสามารถเก็บเกี่ยวประสบการณ์ ทางการบินได้เทียบเท่านักบินของการบินไทย ที่ใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี กว่าจะสั่งสมประสบการณ์ถึงขีดความสามารถเดียวกัน!!

king-vachira-of-thailand-6สำหรับการบินไปยังสนามบินต่างประเทศนั้น นอกจากจะทรงทำการฝึกตามหลักสูตรแล้ว ยังได้ทรงขับเครื่องบินเสด็จฯไปเป็นผู้แทนพระองค์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในโอกาสต่างๆด้วย รวมถึงการเสด็จฯไปพระราชทานสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติ ณ กรุงอิสลามาบัด ประเทศปากีสถาน และทรงฝึกบินเพิ่มประสบการณ์ไปยังกลุ่มประเทศใกล้เคียง เช่น ประเทศสิงคโปร์, บรูไน, จีน และเวียดนาม

king-vachira-of-thailand-3ครูการบินที่ถวายงานทั้ง 2 นาย เล่าว่า “ทรงมีวินัยในการฝึกบินอย่างยิ่ง ในบางสถานการณ์จะทรงปรึกษาครูการบิน และจะทรงปฏิบัติตามคำแนะนำโดยเคร่งครัด เช่น กรณีของสภาพอากาศ หากพิจารณาถึงการขึ้นลงของเครื่องบินขับไล่แล้ว อาจไม่เหมาะสมนัก แต่สำหรับเครื่องบินโดยสารแล้ว ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่จะทำการบินขึ้นลงได้ ครูการบินได้ถวายคำแนะนำแล้ว จะทรงทำการบินเข้าสู่สนามบินนั้นทันที”

king-vachira-of-thailand-12

ตลอดระยะเวลาที่ทรงทำการบินนั้น “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร” ทรงมีพระราชประสงค์จะทำการบินให้ได้ประโยชน์และถูกต้องที่สุดในทุกเที่ยวบิน ถึงแม้ในการบินทั่วไป ความผิดพลาดหรือหลงลืมเล็กๆน้อยๆ จะเป็นธรรมดาของนักบินทุกคน ดังนั้น ในเครื่องบินโดยสารทุกวันนี้ จึงใช้นักบิน 2 คน ทำงานร่วมกัน เพื่อคอยตรวจสอบซึ่งกันและกัน อย่างไรก็ดี พระองค์ท่านจะทรงพยายามอย่างยิ่งที่จะไม่ให้ เกิดข้อผิดพลาดเลยแม้แต่น้อย

ขอบคุณข้อมูล www.thaigoodview.com

ขอบคุณภาพจาก  www.photoontour.com

You May Also Like